เรื่องล่าสุด

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ที่ 1/พระประธาน) ลงรักน้ำเกลี้ยงชนิดบาง สภาพเก่าเก็บไม่ผ่านการใช้มาเลย

ขออนุญาตนำข้อมูลของท่าน อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ลงเพื่อการศึกษา

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
พระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ เป็นพระที่จุ่มรักน้ำเกลี้ยงชนิดเจือจาง ปกติพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามจะนิยมจุ่มรักน้ำเกลี้ยง ซึ่งรักน้ำเกลี้ยงก็มีหลายลักษณะ ถ้ารักน้ำเกลี้ยงที่หนา รักน้ำเกลี้ยงก็จะมีสีเข้มมาก ดูแล้วอาจจะรู้สึกว่าไม่ค่อยสวย ดังนั้นพระสมเด็จวัดระฆังที่จุ่มรักน้ำเกลี้ยงในลักษณะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็จะเป็นในแบบเจือจาง เพียงเพื่อให้รักน้ำเกลี้ยงรักษาผิวขององค์พระเท่านั้น สีขององค์พระจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เท่านั้น สามารถเห็นรายละเอียดของผิวองค์พระได้อย่างสะอาดและครบถ้วน โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังที่จุ่มรักน้ำเกลี้ยงชนิดเจือจางและมีอายุการสร้างมาร่วมสองร้อยกว่าปี ผิวจุ่มรักน้ำเกลี้ยงก็จะมีสีที่เปลี่ยน สีจะเข้มขึ้นและผิวมีลักษณะด้าน ๆ เป็นเอกลักษณ์ซึ่งไม่สามารถที่จะปลอมแปลงได้ครับ
สำหรับระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 องค์นี้ เป็นพระที่มีความสมบูรณ์และงดงามมาก ผิวขององค์พระเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีรอยพรุนของเข็ม รอยหนอนด้น และเม็ดพระธาตุปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก มวลสารได้มีการหดตัวเป็นรอยปริแตกดูเป็นธรรมชาติของพระสมเด็จวัดระฆัง
องค์พระเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ซึ่งจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัดปีกนอกกรอบแม่พิมพ์เล็กน้อย เห็นกรอบแม่พิมพ์ทั้ง 4 ด้าน กรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระประธานจะเป็นกรอบที่แล่นลงมาจรดซุ้มเรือนแก้วบริเวณข้อศอกขององค์พระประธาน อันเป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์ ซุ้มเรือนแก้วจะหนาและลึกตั้งฉาก พระเศียรขององค์พระจะกลมและใหญ่ มีพระเกศแหลมคมจรดซุ้มเรือนแก้วบน พระกรรณทั้งสองข้างคมชัด ปลายพระกรรณจะยาวติดรำไร องค์พระล่ำสันมีเส้นสังฆาฏิพาดเป็นแผ่นลงมาที่ช่วงท้องขององค์พระ แขนทั้งสองข้างล่ำสัน และตั้งฉากเนื่องจากการหดตัวขององค์พระ ซอกรักแร้ด้านซ้ายจะยกสูงกว่าด้านขวา อันเป็นตำหนิแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์
เข่าด้านซ้ายจะสูงกว่าเข่าด้านขวา มีเส้นจีวรพาดลงมาที่ข้อศอกจรดหัวเข่า พระบาทข้างซ้ายจะแนบที่หน้าตัก ยาวเกือบถึงเข่าขวา
ฐานชั้นที่ 3 เป็นฐานหมอนหนุน เส้นแซมใต้ตักที่เชื่อมต่อจากหัวฐานติดรำไร ฐานชั้นที่ 2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ เหนือฐานจะมีเส้นแซมเส้นเล็กติดยาวตลอด ฐานชั้นที่ 1 เป็นฐานเขียงหนา ปลายฐานด้านขวาขององค์พระจะเฉียงลงเป็นทรงหัวขวาน
พิมพ์หลังเป็นพิมพ์สังขยา มีรอยรูพรุนเข็ม รอยหนอนด้น เม็ดพระธาตุและรอยครูดของเม็ดพระธาตุ และที่มีคุณค่ามากที่สุดก็คือขอบทั้ง 4 ด้านเป้นขอบตัดกระเทาะเป็นรอยปูไต่ ตามทฤษฎีของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามครับ

ขอบพระคุณอ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ